ทช.เตือนห้ามดำน้ำใกล้ ‘ฉลามวาฬ’ หวั่นพฤติกรรมสัตว์เปลี่ยนแปลง

ทช.เตือนห้ามดำน้ำใกล้ 'ฉลามวาฬ
(ภาพจากนายวิเรน บัวสมุย) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตือนนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำ อย่าเข้าใกล้ ‘ฉลามวาฬ’ หวั่นทำให้ฉลาม ตกใจ และอาจจะทำร้ายได้ รวมทั้งอาจจะไปทำให้พฤติกรรมของสัตว์เปลี่ยนแปลงไป เมื่อวันที่ 22 มี.ค.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีผู้โพสต์เฟซบุ๊ก ชื่อ สืออาสา คนค้นข่าว ได้มีการโพสต์ภาพคลิปวีดีโอ ฉลามวาฬ ที่ว่ายอยู่ในกลุ่มของนักดำน้ำในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นจุดดำน้ำในพื้นที่ บริเวณเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี และพื้นที่จุดดำน้ำชุมพร เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังมีการตรวจสอบคลิปภาพดังกล่าวแล้ว พบว่าคลิปภาพดังกล่าวได้เป็นคลิปที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ออกมาเตือนนักท่องเที่ยว ร่วมทั้งผู้ประกอการธุรกิจดำน้ำ ที่จะเดินทางไปดำน้ำ ตามจุดดำน้ำต่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดดำน้ำเกาะเวียง และหมู่เกาะง่าม ชุมพร และพื้นที่จุดดำน้ำหินขาว จุดดำน้ำพีวี จุดดำน้ำสันตะกูด เกาะเต่าให้หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำเข้าไปใกล้ หรือ สัมผัสตัวฉลามวาฬที่ว่ายน้ำเข้ามายังจุดดำน้ำบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ ตามปกติฉลามวาฬจะไม่มีความดุร้าย แต่หากนำดำน้ำเข้าไปใกล้ หรือ สัมผัสตัวฉลามวาฬ อาจจะทำให้ฉลามเกิดอาการตกใจ และอาจจะทำร้ายได้ รวมทั้งอาจจะไปทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ฉลามวาฬ ถือว่าเป็นสัตว์น้ำมีสภาพใกล้สูญพันธุ์ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เสนอให้ ฉลามวาฬ เป็นสัตว์สงวนชนิดใหม่ ลำดับที่ 18 ของไทย จึงอยากฝากเตือนถึงนักท่องเที่ยวที่จะไปดำน้ำตามจุดดำน้ำต่างๆในพื้นที่ในทะเลชุพร และพื้นในทะเล บริเวณเกาะเต่าสุราษฎร์ธานี หากพบ ฉลามวาฬ ให้หลีกเลี่ยง และไม่เข้าไปสัมผัสตัว ด้านนายจุเลี้ยง พึ่งวิริยะตน อายุ 56 ปี ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำในพื้นที่เกาะเต่า เผยว่า การพบฉลามวาฬ ในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยทั้งในพื้นที่ชุมพร และที่เกาะเต่า มักจะพบเห็นบ่อยครั้ง และมีการพบเห็นไม่ต่ำกว่า 15 ครั้งแล้วในปีนี้ ทางผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำให้ความสำคัญกับเรื่องของ การอนุรักษ์ ฉลามวาฬ โดยเฉพาะตามจุดดำน้ำในพื้นที่ทะเลเกาะเต่า ในช่วงนี้จะมีฉลามวาฬ ว่ายน้ำเข้ามายังจุดดำน้ำอยู่บ่อยๆซึ่งการที่ ฉลามวาฬ เข้ามายังพื้นที่เกาะเต่าอาจจะเป็นเพราะพื้นที่ใต้ท้องทะเลเกาะเต่า ยังมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของ ฉลามวาฬ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไม่ได้พานักดำน้ำไปตระเวนตามหา ฉลามวาฬ ตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่ฉลามวาฬ จะว่ายน้ำเข้ามาโผล่ที่จุดดำน้ำทุกครั้ง ซึ่งได้กำชับนักดำน้ำ ไม่ให้เข้าไปใกล้ หรือ สัมผัสตัวฉลามวาฬ อยู่แล้ว ถึงแม้ว่า ฉลามวาฬ จะไม่ใช้สัตว์ที่มีความดุร้าย กลุ่มผู้ประกอบการพร้อมที่จะทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที เพื่อเป็นช่วยกันอนุรักษ์ฉลามวาฬ ซึ่งเป็นสัตว์สงวนที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์นี้

ขอบคุณ ภาพและข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Loading...